ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศอวกาศ
ยุคก่อนอวกาศ
ในอดีตมนุษย์มีความเข้าใจว่า ท้องฟ้าและอวกาศ เป็นสถานที่ลึกลับ การเกิดลม ฝน พายุ หรือสายฟ้าเกิดจากการบันดาลของเทพเจ้า แต่ต่อมาเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น มนุษย์เริ่มสำรวจหาข้อเท็จจริงโดยการสำรวจในช่วงแรกยังคงเป็นการใช้กล้องโทรทรรศน์ (telescope) ส่องดูวัตถุต่าง ๆบนท้องฟ้า และใช้จานรับคลื่นวิทยุจากดวงดาวต่าง ๆ
ในอดีตมนุษย์มีความเข้าใจว่า ท้องฟ้าและอวกาศ เป็นสถานที่ลึกลับ การเกิดลม ฝน พายุ หรือสายฟ้าเกิดจากการบันดาลของเทพเจ้า แต่ต่อมาเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น มนุษย์เริ่มสำรวจหาข้อเท็จจริงโดยการสำรวจในช่วงแรกยังคงเป็นการใช้กล้องโทรทรรศน์ (telescope) ส่องดูวัตถุต่าง ๆบนท้องฟ้า และใช้จานรับคลื่นวิทยุจากดวงดาวต่าง ๆ
กาลิเลโอ กาลิเลอี บุคคลแรกที่ใช้กล่องโทรทรรศน์
ยุคอวกาศ
เป็นยุคที่วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเฟื่องฟูที่จะศึกษาเรื่องของอวกาศมากขึ้น มีการประดิษฐ์ยานอวกาศเพื่อส่งไปสำรวจห้วงอวกาศ โดยจุดเริ่มต้นของอวกาศเกิดขึ้นเมื่อสหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อ สปุตนิ 1 (sputnik 1) ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2500 ต่อมาทั้งสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และอีกหลาย ๆ ประเทศ ต่างก็ตั้งโครงการสำรวจอวกาศ โดยได้ส่งดาวเทียมและยานอวกาศขึ้นไปโครจรรอบโลกมากมาย รวม ทั้งการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์ต่าง ๆ และมีการร่วมมือกันระหว่างประเทศ เพื่อจัดตั้งโครงการสถานอวกาศเป็นสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์บนห้วงอวกาศ
เทคโนโลยีอวกาศในอนาคต
1.)ลิฟต์อวกาศ (Space Elevator)
เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีการเสนอให้สร้าง เพื่อใช้ในการขนส่งวัสดุจากพิ้นผิวโลกขึ้นไปในอวกาศ รูปแบบที่มีการนำเสนอมักเป็นโครงสร้าง สร้างต่อเนื่องจากผิวโลก ขึ้นไปยังวงโคจรค้างฟ้า และสร้างต่อเนื่องออกไป โดยมีตุ้มน้ำหนักถ่วงที่ปลายอีกด้านหนึ่ง วัสดุที่มีการเสนอให้ใช้ มีลักษณะเป็นเคเบิล หรือแถบรับน้ำหนัก ที่สามารถรับกำลังได้สูง โดยทำเลที่ตั้งโครงสร้างจะอยู่บริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร
2.)การเดินทางด้วยความเร็วแสง
ความเร็วแสงเป็นความเร็วสูงสุดที่เอกภพยอมให้มีได้ พูดง่ายๆ ว่าไม่มีสิ่งใดที่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสง ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special relativity) ที่คิดขึ้นโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำให้นักฟิสิกส์รู้ว่า เมื่อวัตถุมีความเร็วสูงมากๆ จนเริ่มเข้าใกล้ระดับความเร็วแสง เราจะต้องใช้พลังงานมหาศาลในการเพิ่มความเร็วของวัตถุนั้นแม้เพียงเล็กน้อย จนสุดท้ายแล้วการจะทำให้วัตถุหนึ่งมีความเร็วเท่าความเร็วแสงจะต้องใช้พลังงานเป็นอนันต์ พูดง่ายๆ ว่ารวมเอาพลังงานของทั้งเอกภพมาเร่งความเร็วหินสักก้อน มันยังมีความเร็วไม่เท่าแสงเลย อย่างดีก็เข้าใกล้ความเร็วแสงมากๆ แต่ไม่เร็วเท่าแสงเสียที
3.)การเดินทางด้วยรูหนอน
รูหนอนคือสะพานจากจุดหนึ่งในอวกาศไปสู่อีกจุดหนึ่ง มันเหมือนกับอุโมงค์ทางลัดให้คุณเดินทางจากที่นี่ไปสู่อีกที่ ซึ่งไอสไตล์ได้ค้นพบเรื่องนี้ในปี 1935 ถ้าเราทำการเปิดรูหนอนได้อย่างเหมาะสม เช่นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับหลุมดำ และใช้การเดินทางด้วยความเร็วสูง เวลาของอุโมงค์ที่เปิดขึ้นทั้ง2 ด้านจะแตกต่างกัน ดังนั้นเราจะไม่เพียงแต่เดินทางจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งในอวกาศด้วยรูหนอนนี้ แต่เราจะไปจากช่วงเวลาหนึ่งไปสู่อีกช่วงเวลาหนึ่งที่ต่างกันอีกด้วย โดยที่การเดินทางจากด้านหนึ่งจะกลับไปสู่อดีต และอีกด้านจะไปสู่อนาคต
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น